![]() |
|||||||||||
ประวัติ Honda civic
Honda Civic ในปัจจุบัน ฮอนด้ามีฐานการผลิตซีวิคอยู่ใน 12 ประเทศรวมทั้งไทย เพื่อทำตลาด 140 ประเทศทั่วโลก และยอดการผลิตของซีวิคผ่านหลัก 13.3 ล้านคันไปแล้ว ทุกรุ่นของซีวิคที่เปิดตัว ไม่ได้มีเพียงแค่ชื่อรุ่นในการทำตลาดเท่านั้น แต่ยังมีชื่อนำหน้าในแต่ละรุ่น เพื่อแยกภาพลักษณ์ของแต่ละรุ่นตัวถังให้ชัดเจนอีกด้วย เช่น วันเดอร์ ซีวิค, แกรนด์ ซีวิค หรือ มิราเคิล ซีวิครุ่นแรก เปิดตัวในเดือนกรกฎาคม 1972 ด้วยตัวถังแฮทช์แบ็ก 3 และ 5 ประตู แม้จะมีชื่อเล่นจากคนอเมริกันว่าเป็น ข้าวปั้นติดล้อ แต่ก็สุดทันสมัยด้วยเครื่องยนต์มลพิษต่ำ CVCC-COMPOUND VORTEX CONTROLLED COMBUSTION 1,169 ซีซี 60 แรงม้า (PS) ที่ 5,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 9.5 กก.-ม.ที่ 3,000 รอบ/นาที ทำให้ฮอนด้ากลายเป็นผู้ผลิตรายเดียว (ในขณะนั้น) ที่ผ่านมาตรฐานไอเสียที่เข้มงวดของมลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา และเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ก็ยังได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ในรถยนต์แห่งศตวรรษที่ 20 อีกด้วย ในปี 1974 ฮอนด้าเปิดตัวรุ่น RS ด้วยขุมพลังบล็อกเดียวกับรุ่นธรรมดา แต่แรงขึ้นเป็น 76 แรงม้า (PS) ก่อนยุติการผลิต ซีวิครุ่นแรกปรับโฉมในเดือนกันยายน 1977 เปลี่ยนมาใช้ขุมพลัง 4 สูบ SOHC 1,238 ซีซี 65 แรงม้า (PS) และ 1,488 ซีซี 75 แรงม้า (PS) รุ่นที่ 2 : SUPER CIVIC เปิดตัววันที่ 24 กรกฎาคม 1979 ด้วยรุ่นแฮทช์แบ็ก 3 ประตู และเปิดตัวรุ่นซีวิค คันทรี (แวกอน) ในวันที่ 23 มกราคม 1980 ก่อนปิดท้ายด้วยรุ่นซีดานในวันที่ 11 กันยายน 1980 การปรับโฉมของรุ่นนี้ที่หันมาใช้ไฟหน้าสี่เหลี่ยม และแผงหน้าปัดใหม่มีขึ้นในปี 1981 โดยทำตลาดพร้อมกับคู่แฝดที่พัฒนาบนโครงสร้างและขุมพลังเดียวกัน ในชื่อ ฮอนด้า บัลลาด ขุมพลังมี 2 รุ่น คือ รหัส EJ CVCC 4 สูบ OHC 1,335 ซีซี 68 แรงม้า (PS) และแบบ EM CVCC-II 1,488 ซีซี 85 แรงม้า (PS) ส่วนรุ่นซีดานและแวกอนคันทรี ใช้เครื่องยนต์เหมือนกัน แต่กำลังสูงสุดถูกลดลงเหลือ 80 แรงม้า (PS) รุ่นที่ 3 : WONDER CIVIC เปิดตัวเดือนกันยายน 1983 ด้วยรุ่นซีดาน แฮทช์แบ็ก 3 ประตู และสเตชันแวกอน 5 ประตูที่ใช้ชื่อชัตเทิล-SHUTTLE และเป็นครั้งแรกที่มีรุ่นคูเป้ในชื่อ บัลลาด CR-X โดยเปิดตัวในวันที่ 1 กรกฎาคม 1983 ขุมพลังเป็นแบบ CVCC 4 สูบ OHC แบ่งเป็นรหัส EV 1,342 ซีซี 80 แรงม้า (PS) รหัส EW คาร์บูเรเตอร์ 1,488 ซีซี 90 แรงม้า (PS) และรุ่นหัวฉีด 100 แรงม้า (PS) ปิดท้ายด้วยรหัส ZC 4 สูบ ทวินแคม 16 วาล์ว 1,590 ซีซี หัวฉีด PGM-FI 135 แรงม้า (PS) นับเป็นซีวิครุ่นแรกที่นำเข้ามาประกอบและจำหน่ายในเมืองไทยเมื่ อปี 1984 ด้วยรุ่นซีดานพร้อมเครื่องยนต์ 1,488 ซีซี 85 แรงม้า (PS) และปรับโฉมเปลี่ยนไฟท้ายมาเป็นแบบ 2 ชั้นในปี 1986 รุ่นที่ 4 : GRAND CIVIC เปิดตัวเดือนกันยายน 1987 ด้วยตัวถังซีดาน คูเป้ 2 ประตู CR-X แฮทช์แบ็ก 3 ประตู และสเตชันแวกอน 5 ประตูในชื่อ ชัตเทิล ทุกรุ่นมีการปรับโฉมในปี 1989 โดยรุ่นชัตเทิลมีการปรับโฉมครั้งสุดท้ายในปี 1994 และใช้ชื่อ BEAGLE ด้วยตัวถังที่แต่งจนดูคล้ายมินิออฟโรด ก่อนที่ชัตเทิลจะถูกปลดจากสายการผลิตในปี 1997 บุกเมืองไทยเป็นซีวิครุ่นที่ 2 ในเดือนพฤษภาคม 1988 และได้รับความนิยมสูงจนเกิดธุรกิจค้าใบจองนอกระบบ ก่อนปรับโฉมในเดือนมิถุนายน 1990 เปลี่ยนแผงไฟท้ายแบบเรียบแนวยาว มาเป็นแบบ 2 ชั้น ในตลาดโลกมีหลายขุมพลัง เช่น เครื่องยนต์เป็นบล็อกใหม่ รหัส D13B 4 สูบ SOHC 1,343 ซีซี คาร์บูเรเตอร์ 82 แรงม้า (PS) รหัส D15B 1,493 ซีซี 91-100 แรงม้า (PS) รหัส ZC รุ่นธรรมดา 1,590 ซีซี 120 แรงม้า (PS) และรุ่นทวินแคม 16 วาล์ว หัวฉีด PGM-FI 130 แรงม้า (PS) แรงสุดด้วยรหัส B16A ทวินแคม 16 วาล์ว VTEC 1,595 ซีซี 160 แรงม้า (PS) ที่ 7,600 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 15.5 กก.-ม.ที่ 7,000 รอบ/นาที พร้อมระบบขับเคลื่อนที่มีทั้งแบบล้อหน้าและ 4 ล้อตลอดเวลา รุ่นที่ 5 : SPORT CIVIC เปิดตัวเดือนกันยายน 1991 ด้วยรุ่นซีดานที่ใช้ชื่อ เฟริโอ-FERIO คูเป้ และแฮทช์แบ็ก 3 ประตูซึ่งได้รับแรงบันดาลใจในการออกแบบมาจากท่าเต้นในสไตล์แซมบ ้า นับเป็นซีวิครุ่นแรกที่ติดตั้งอุปกรณ์ความปลอดภัยเต็มพิกัด เช่น ถุงลมนิรภัย เอบีเอส แทร็กชันคอนโทรล พร้อมลิมิเต็ดสลิปในรุ่นซีดานขับเคลื่อน 4 ล้อ นอกจากนั้น ยังมีการเปิดตัวรุ่นที่ 3 ของรหัส CR-X ในชื่อ เดลโซลในเดือนมกราคม 1992 เปลี่ยนรูปทรงมาเป็นแบบสปอร์ตแบบทาร์กา แผ่นหลังคาแข็งเลื่อนเก็บที่ด้านหลังได้ และทำตลาดจนถึงปี 1997 เครื่องยนต์ของซีวิคเริ่มจากรหัส D13B 4 สูบ SOHC 16 วาล์ว คาร์บูเรเตอร์ 1,343 ซีซี 85 แรงม้า (PS) รหัส D15B แบ่งเป็น 3 รุ่น คือ คาร์บูเรเตอร์คู่ 1,493 ซีซี 100 แรงม้า (PS) รุ่น VTEC-E หัวฉีด PGM-FI 94 แรงม้า (PS) และ VTEC 130 แรงม้า (PS) รหัส ZC SOHC 1,590 ซีซี 105 แรงม้า (PS) และแรงสุดด้วยรหัส B16A ทวินแคม 16 วาล์ว VTEC 170 แรงม้า (PS) ที่ 7,800 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 16.0 กก.-ม.ที่ 7,300 รอบ/นาที รุ่นคูเป้ ที่ผลิตในสหรัฐอเมริกา ส่งถึงญี่ปุ่นในเดือนกุมภาพันธ์ 1993 ด้วยขุมพลัง D16A 4 สูบ SOHC 16 วาล์ว 130 แรงม้า (PS) ในเมืองไทยเปิดตัวเดือนมีนาคม 1992 ด้วยรุ่นซีดาน ก่อนรุ่น 3 ประตูจะสร้างปรากฏการณ์ในเดือนสิงหาคม 1993 ด้วยราคาเริ่มต้นเพียง 361,000 บาท ทำให้ยอดสั่งจองทะลุถึง 10,000 คันในระยะเวลาเพียง 3 วันเท่านั้น รวม 5 รุ่น ยอดจำหน่ายของซีวิคทั่วโลกครบ 10 ล้านคันพอดีในวันที่ 31 พฤษภาคม 1995 รุ่นที่ 6 : MIRACLE CIVIC บุกตลาดในเดือนกันยายน 1995 และมีลีโอนาโด ดิคาปริโอ ร่วมเป็นพรีเซ็นเตอร์ในโฆษณา ซีวิครุ่นนี้มี 3 ตัวถัง คือ ซีดาน คูเป้ และแฮทช์แบ็ก 3 ประตู สำหรับทุกตลาดทั่วโลก และในแต่ละภูมิภาคก็จะมีรุ่นพิเศษทำตลาดด้วย ในญี่ปุ่นมีรุ่นสเตชันแวกอนในชื่อ ออร์เธีย หรือพาร์ตเนอร์ (1996) และรุ่นซีดานในชื่อ อินเทกรา SJ หรืออีซูซุ เวอร์เท็กซ์ (ในเมืองไทย) รุ่นซีดานในชื่อโดมานี ซึ่งทำตลาดภายใต้ยี่ห้ออีซูซุ ในชื่อเจมินีอีกด้วย รวมถึงส่งไปจำหน่ายในประเทศแคนาดาภายใต้แบรนด์ อาคิวรา ในรหัส EL ในตลาดยุโรป ทำตลาดด้วยรุ่นแฮทช์แบ็ก 5 ประตู และสเตชันแวกอนในชื่อ แอโรเดก (คนละตัวถังกับออร์เธีย) โดยซีวิค เวอร์ชันยุโรปในบางตัวถังใช้ชิ้นส่วนอะไหล่ร่วมกับ โรเวอร์ 400 ซีรีส์
เครื่องยนต์ในญี่ปุ่นเป็นบล็อก 4 สูบ คือ รหัส D13B 1,343 ซีซี 91 แรงม้า (PS) รหัส D15B 1,493 ซีซี 105 แรงม้า (PS) และรุ่น VTEC 130 แรงม้า (PS) รหัส D16A 1,590 ซีซี LEV 105 แรงม้า (PS) และรุ่น 4WD 120 แรงม้า (PS) รหัส B16A ทวินแคม VTEC 1,595 ซีซี 170 แรงม้า (PS)
Honda Civic New Dimension |